การลงมือมือทำมีลักษณะอย่างไร?

การลงมือมือทำมีลักษณะอย่างไร?

การจัดการเรียนรู้โดยลงมือกระทำมีลักษณะสำคัญดังนี้
·         มีจุดมุ่งหมาย มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาไปใช้ในการตัดสินใจ
·         จัดการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความถนัดและความสนใจ
·         ครูมีลักษณะของการเป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน
·         ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง ผู้เรียนได้ทดลอง ทำปฏิบัติ สืบเสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล หาข้อสรุป และหาวิธีการกระบวนการด้วยตนเอง
·         จัดหลักสูตรจะเน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม


การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร? 


การเรียนรู้โดยการลงมือทำ มีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้
·         เด็กจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง
·         เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ ลำตัว แขน ขา และกล้ามเนื้อเล็กซึ่งได้แก่ นิ้วมือ
·         เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทำให้เกิดเป็นประสบการณ์
·         เด็กได้รู้จักการสืบค้นหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา
·         เด็กจะได้เข้าใจธรรมชาติ
·         เด็กจะเกิดความคิดสร้างสรรค์
·         เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
·         เด็กได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
·         เด็กจะได้พัฒนาวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ รวมทั้งรับรู้ลักษณะอารมณ์แต่ละชนิด เช่น ชอบกลิ่นหอม แต่ไม่ชอบกลิ่นเหม็น ไม่ชอบเดินเท้าเปล่าเหยียบก้อนหินที่แข็งหยาบ แต่จะรู้สึกชอบเดินบนพรมที่อ่อนนุ่นสบายฝ่าเท้า ไม่ชอบเสียงดนตรีที่แผดเสียงดัง แต่ชอบเสียงดนตรีบรรเลงเพลงเบาๆ เป็นต้น
·         เด็กจะได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้คิดและเข้าใจความเป็นเหตุผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น